จำนวน 20 ข้อ ได้ 17 คะแนน
1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นการกระจายอำนาจให้โรงเรียนมีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตร ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร |
ก. ไม่จริงเพราะโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางไม่เปิดช่องให้ปรับตามบริบทเลย ข. จริงเพราะโรงเรียนเป็นผู้อนุมัติการใช้หลักสูตรสถานศึกษาได้เอง ค. ไม่จริงเพราะสถานศึกษาไม่สามารถกำหนดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นได้เอง ง. จริงเพราะนักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาตามความถนัดและความสามารถ
|
2. ข้อใดไม่ใช่ประเด็นการเปลี่ยนแปลงจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
สู่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 |
ก. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น -> ตัวชี้วัดชั้นปีในการศึกษาภาคบังคับ ข. หลักสูตรเน้นเนื้อหา -> หลักสูตรอิงมาตรฐาน ค. เวลาเรียนรวมแต่ละปี -> เวลาเรียนขั้นต่ำแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ง. ประเมินตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง -> ประเมินผลตามตัวชี้วัด
|
3. ข้อปฏิบัติใดของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับข้อกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนของ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
ก. ระดับประถมศึกษาปรับเวลาเรียนพื้นฐานได้ตามความเหมาะสม ข. มัธยมศึกษาต้องจัดรายวิชาเพิ่มเติมตามที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลาง ค. ระดับประถมศึกษาต้องจัดรายวิชาเพิ่มเติมทุกระดับชั้น ง. ต้องจัดกิจกรรมชุมนุมในทุกระดับชั้นในมัธยมศึกษาตอนปลาย
|
4. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดสิ่งใดต่อไปนี้
เป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน |
ก. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ข. มาตรฐานการเรียนรู้ ค. สาระการเรียนรู้แกนกลาง 8 กลุ่ม ง. หลักการของหลักสูตร
|
5. ข้อความที่ปรากฏข้างล่างนี้ เป็นข้อมูลส่วนใดของเอกสารกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น
|
ก. เป้าหมาย/จุดเน้น ข. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ค. การประเมินคุณภาพระดับท้องถิ่น ง. สาระการเรียนรู้พื้นฐาน
|
6. การวางแผนและดำเนินการใช้ วิจัยและพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา
เป็นบทบาทหน้าที่ของใครต่อไปนี้ |
ก. ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญของ สพฐ. ข. ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการ ค. คณะครูและผู้บริหารสถานศึกษา ง. นักวิชาการ คณาจารย์ สถาบันอุดมศึกษา
|
7. ข้อใดต่อไปนี้ที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กำหนดเพิ่มขึ้น
|
ก. สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม ข. โครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน ค. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ง. ความต้องการของสถานศึกษาและท้องถิ่น
|
8. การจัดเวลาเรียนและการตัดสินผลการเรียนปัจจุบันดำเนินการตามข้อใด
|
ก. ประถมศึกษาจัดเวลาเรียนและตัดสินผลการเรียนเป็นรายปี ข. มัธยมศึกษาจัดเวลาเรียนและตัดสินผลการเรียนเป็นรายปี ค. มัธยมศึกษาจัดเวลาเรียนและตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค ง. ประถมศึกษาจัดเวลาเรียนละตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค
|
9. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนข้อใดครอบคลุมตามที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลาง
|
ก. แนะแนว ลูกเสือ ชุมนุม ข. ลูกเสือ-เนตรนารี ชุมนุม กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ค. แนะแนว กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ กิจกรรมค่าย ง. แนะแนว กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ลูกเสือ
|
10. เมื่อสถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาจะต้องจัดทำสิ่งใดต่อไปนี้ควบคู่กันไป
|
ก. วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด ข. การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ค. จัดทำระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร ง. โครงสร้างรายวิชา ตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนด
|
11. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานคาดหวังสิ่งใดให้เกิดกับผู้เรียนมากที่สุด
|
ก. คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ข. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ค. การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ง. การเรียนรู้แบบบูรณาการ
|
12. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
มีจุดมุ่งหมายอะไร |
ก. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ข. เพื่อตัดสินผลการเรียน ค. เพื่อเน้นการปฏิบัติตามสภาพจริง ง. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และตัดสินผลการเรียน
|
13. การประเมินเพื่อตัดสินผลมีความหมายตรงกับต่อไปนี้
|
ก. เพื่อตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียน ข. เพื่อใช้แก้ปัญหาการเรียนรู้ ค. เพื่อออกแบบกระบวนการจัดการเรียนให้เหมาะสม ง. เพื่อวินิจฉัยความรู้ความสามารถของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด
|
14. การจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลมีเป้าหมายเดียวกันคืออะไร
|
ก. หน่วยการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ข. กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ค. สื่อการสอนที่เหมาะสม ง. นักเรียนที่มีคุณภาพ
|
15. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
|
ก. โครงสร้างเวลาเรียน ข. มาตรฐานการเรียนรู้ ค. คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน ง. เกณฑ์การจบหลักสูตร
|
16. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
|
ก. ส่วนกลางกำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลาง ซึ่งเป็นเป้าหมายการวัดประเมินผล แต่ละระดับชั้น ข. เขตพื้นที่การศึกษากำหนดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเพื่อให้สถานศึกษาในเขตใช้ใน การจัดการเรียนรู้ ค. สถานศึกษาสามารถกำหนดเพิ่มเติมในส่วนสาระตามความต้องการของท้องถิ่น หรือ ส่วนที่ต้องการเน้นได้ ง. สถานศึกษาสามารถกำหนดรายวิชาเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับบริบทและความต้องการ
|
17. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กับ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
มีหลักการเดียวกันคืออะไร ? |
ก. ยึดสาระการเรียนรู้แกนกลางเป็นหลัก ข. เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน ค. มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ ง. มีวิสัยทัศน์แกนกลางเพื่อความเป็นเอกภาพ
|
18. องค์ประกอบสำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา
|
ก. คำอธิบายรายวิชา ข. มาตรฐานการเรียนรู้ ค. สาระการเรียนรู้พื้นฐาน ง. เกณฑ์การประเมินกลุ่มสาระการเรียนรู้
|
19. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ต้องผ่านการอนุมัติการใช้จากคณะกรรการสถานศึกษา
|
ก. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ข. คำอธิบายรายวิชา ค. เกณฑ์การจบหลักสูตร ง. หน่วยการเรียนรู้
|
20. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา มีสิ่งสำคัญอะไรบ้าง ?
|
ก. กำหนดรายวิชาที่จัดสอนแต่ละปี/ภาคเรียน เวลาเรียนหรือหน่วยกิต ข. ความต้องการของท้องถิ่น/สถานศึกษา/เขตพื้นที่การศึกษา ค. เกณฑ์การจบการศึกษาของผู้เรียน / สถานศึกษา ง. หน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้
|
21. รายวิชาพื้นฐานในหลักสูตรสถานศึกษากำหนดมาจากสิ่งใด ?
|
ก. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ข. จุดหมายของหลักสูตรแกนกลาง ค. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรแกนกลาง ง. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลาง
|
22. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กิจกรรมพัฒนานักเรียน ?
|
ก. กิจกรรมแนะแนวศึกษาต่อ ข. กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ ค. กิจกรรมไหว้ครู ง. กิจกรรมชุมนุมวาดภาพ
|
23. ผังความคิดต่อไปนี้ต้องการสื่อสารอะไร
|
ก. การนำความรู้ ทักษะ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ไปกำหนดเป็นรายวิชา ข. การนำความรู้ ทักษะ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ไปเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา ค. มาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีประกอบด้วย 2สาระ ง. ตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีประกอบด้วย 2 รายวิชา
|
24. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สถานศึกษากำหนดข้อใดครอบคลุมตามข้อกำหนดของหลักสูตรแกนกลาง
|
ก. แนะแนว ลูกเสือ ชุมนุม ข. แนะแนว ลูกเสือ-เนตรนารี ผู้บำเพ็ญประโยชน์ ค. แนะแนว ผู้บำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมเพื่อสังคมฯ ง. แนะแนว ลูกเสือ-เนตรนารีหรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมเพื่อสังคมฯ
|
25. จุดเน้นของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ได้กำหนดสิ่งใด
เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน |
ก. สมรรถนะสำคัญ ข. คุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ ค. วิสัยทัศน์ ง. สาระการเรียนรู้แกนกลาง
|
26. การเชื่อมโยงจากหลักสูตรสถานศึกษาสู่การเรียนการสอนและวัดประเมินผล
มีสิ่งใดต่อไปนี้เป็นตัวเชื่อม ? |
ก. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กับ ตัวชี้วัด ข. คำอธิบายรายวิชา กับ โครงสร้างรายวิชา ค. เกณฑ์การจบหลักสูตร กับ หน่วยการเรียนรู้ ง. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา กับ เกณฑ์การตัดสิน
|
27. จุดมุ่งหมายสำคัญของการวัดประเมินผลการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 |
ก. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ข. เพื่อตัดสินผลการเรียน ค. เพื่อเน้นการปฏิบัติตามสภาพจริง ง. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และตัดสินผลการเรียน
|
28. บทบาทสำคัญในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่ครูต้องคำนึงถึงมากที่สุดคืออะไร ?
|
ก. ใช้การวัดผลเป็นเครื่องมือการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ ข. ใช้การประเมินเป็นเป้าหมายของการจัดกลุ่มผู้เรียนตามศักยภาพ ค. ใช้การประเมินเป็นกลไกในการพัฒนา ช่วยเหลือผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมาย ง. ใช้การวัดและประเมินประสิทธิภาพการสอน
|
29. เกณฑ์การให้คะแนน ( Rubrics ) ควรใช้กับการประเมินลักษณะใด
|
ก. การประเมินเชิงคุณภาพ ข. การประเมินแบบอิงกลุ่ม ค. การประเมินเชิงปริมาณ ง. ถูกหมดทุกข้อ
|
30. การประเมินระดับใดที่ประเมินได้ตรงและสะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานมากที่สุด
|
ก. ระดับระดับชั้นเรียน ข. ระดับสถานศึกษา ค. ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ง. ระดับชาติ
|